การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
เรื่อง การแก้ปัญหาการเต้นแอโรบิคพื้นฐานไม่ทันจังหวะเพลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
ผู้วิจัย
นายทิวา บุญประสงค์
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษา 1
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขา พลศึกษาและนันทนาการ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ
ชื่อผู้วิจัย นาย ทิวา บุญประสงค์ ชื่องานวิจัย การแก้ปัญหาการเต้นแอโรบิคพื้นฐานไม่ทันจังหวะของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1/1โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)
โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
อาจารย์นิเทศประจำโรงเรียน นายพรีดล เพชรานนท์
อาจารย์นิเทศวิชาเอก นายพรีดล เพชรานนท์
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างแบบฝึกแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการเต้นแอโรบิคพื้นฐาน
2. เพื่อเปรียบเทียบผลการแก้ปัญหา ของนักเรียนในการเต้นแอโรบิค ก่อนและหลังการฝึก
ผลการวิจัย
หลังจาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการฟังจังหวะเพลง ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถในการเต้นแอโรบิดได้ทันจังหวะของเพลง มากขึ้น และจารการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ปรากฏว่าคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน
วิชาเอกพลศึกษา ลายมือชื่อนักศึกษา.....................................................................................
ลายมือชื่ออาจารย์นิเทศประจำโรงเรียน......................................................
ลายมือชื่ออาจารย์นิเทศวิชาเอก..................................................................
ปีการศึกษา.................................................
เรื่อง
การแก้ปัญหาการเต้นแอโรบิคพื้นฐานไม่ทันจังหวะเพลงของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การออกกำลังกาย ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบันเพราะอากาศเกิดเปลี่ยนแปลงบ่อยดังนั้นมนุษย์ต้องสิ่งที่เป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคได้ นั้นการคือการออกกำลังกายที่เป็นยาที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นการ เคลื่อนไหวร่างกายเพียงเล็กน้อยหรือเพียงการออกกำลังกายช่วงสั้นวันละ10ถึง15นาทีดังนั้น การเต้นแอโรบิค ถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ได้รับความ นิยมมากในปัจจุบันนี้ดังนั้นการเต้นให้ตรงจังหวะเพลงเป็นทักษะที่เป็นพื้นฐานที่ต้องพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง จากการสอนนักเรียน ประถมศึกษา ปีที่ 1/1 พบว่า จำนวน 5 คน ยังขาดทักษะในการเต้นแอโรบิดให้ทันกับจังหวะของเพลง นักเรียนเต้นค่อมจังหวะเพลง ซึ่งสาเหตุมาจาก นักเรียนฟังจังหวะไม่เป็น ไม่มีทักษะพื้นฐานของการเต้นแอโรบิค โดยเฉพาะการก้าวเท้าพื้นฐาน การใช้แขนประกอบท่าทาง ซึ่งพบจากการเต้นแอโรบิดในตอนเช้าหน้าเสาธง จากการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1จำนวน 40 คนพบว่ามีนักเรียนจำนวน 5 คน มีการเต้นแอโรบิคไม่ทันกับจังหวะของเพลงบ่อยครั้งมากที่สุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยตระหนักดีว่า ต้องรีบแก้ไขด่วน เพื่อเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพและใช้การเต้นแอโรบิคในการออกกำลังกายได้อย่างดี จึงได้สร้างเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาโดยใช้แบบฝึกทักษะ การฟังจังหวะเพลงในการเต้นแอโรบิคมาใช้
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย
1. เพื่อสร้างแบบฝึกแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการเต้นแอโรบิคพื้นฐาน
2. เพื่อเปรียบเทียบผลการแก้ปัญหา ของนักเรียนในการเต้นแอโรบิต ก่อนและหลังการการทดลอง
สมมุติฐานการวิจัย
นักเรียนสามารถเต้นแอโรบิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังการฝึกดีกว่าก่อนการฝึก
ขอบเขตการวิจัย
เนื้อหาวิชาเรื่อง การแก้ปัญหาการเต้นแอโรบิคพื้นฐานไม่ทันจังหวะเพลงของ นักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปี ที่ 1/1 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1/1
จำนวน 8 ชั่วโมง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากร
- ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)
ปีการศึกษา 2552 จำนวน 40 คน
- กลุ่มตัวอย่างประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) ที่ได้ จากการฝึกทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิคไม่ทันจังหวะเพลง จำนวน 5 คน
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546)การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ( Class room Action Research).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิธีดำเนินการวิจัย
นวัตกรรมที่ใช้
1.ทดสอบความสามารถก่อนเรียนโดยให้นักเรียนทำการทดสอบก่อนเรียน
2.ให้นักเรียนฟังเพลงที่ใช้เต้นแอโรบิค เพื่อฟังจังหวะของเพลง โดยให้ทำแบบฝึกเสริมทักษะวันละ 1 แบบฝึก ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2552
3. ทดสอบความสามารถหลังเรียนโดยให้นักเรียนทำการทดสอบแบบ
4. นำผลการเรียนของนักเรียนมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
วิธีสร้างนวัตกรรม
1. สร้างแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานและแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียน บางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
1.1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 1
1.2 จัดหาแบบฝึกเพื่อมาสร้างการฝึกให้นักเรียน โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานในการเต้นแอโรบิค
จำนวน 4 ชุด แต่ละชุดจะใช้ 2 ครั้ง และแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกจำนวน 1 ชุดมีดังนี้
ชุดแบบฝึกที่ 1 : การนับจังหวะ8
ชุดแบบฝึกที่ 2 : การตบมือพร้อมนับจังหวะ 8
ชุดแบบฝึกที่ 3 : การย้ำเท้าอยู่กับที่พร้อมนับจังหวะ8
ชุดแบบฝึกที่ 4 : การนับจังหวะ8พร้อมการย้ำเท้าและตบมือ
1.3 สร้างแบบฝึก โดยใช้ชุดพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย
1.1.1 หัวเรื่อง
1.1.2 สาระสำคัญ
1.1.3 จุดประสงค์
1.1.4 กระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย
- ขั้นอธิบายและสาธิต
- ขั้นฝึกปฏิบัติ
วิธีการฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน มีวิธีดังนี้
ชุดแบบฝึกที่ 1 : การนับจังหวะ8
ขั้นอธิบายและสาธิต
วิธีการฝึกการนับจังหวะ8
1.ให้ผู้ทำการฝึกนับ 8 จังหวะโดยจะเปิดเพลงที่ใช้ในการเต้นแอโรบิคไปพร้อมกันอย่างเบาๆด้วยดังนี้
1-2-3-4--5-6-7-8 1-2-3-4--5-6-7-8 จะเรียกว่า 1 ชุด
2. ให้ผู้ฝึกนับทั้งหมด 10 ชุด
(ดังภาพประกอบ)
ชุดแบบฝึกที่ 2 : การตบมือพร้อมนับจังหวะ 8
ขั้นอธิบายและสาธิต
วิธีการฝึกการตบมือตามจังหวะการนับ 8
1.ให้ผู้ทำการฝึกตบมือพร้อมจังหวะการนับ 8 โดยจะเปิดเพลงที่ใช้ในการเต้นแอโรบิคไปพร้อมกันอย่างเบาๆด้วย
ปฏิบัติดังนี้ นับ 1 พร้อมตบมือ-นับ 2 พร้อมตบมือ-นับ 3 พร้อมตบมือ-นับ 4 พร้อมตบมือ--นับ 5 พร้อมตบมือ-นับ 6 พร้อมตบมือ-นับ 7 พร้อมตบมือ-นับ 8 พร้อมตบมือ ( ซ้ำ )
2. ให้ผู้ฝึกตบมือพร้อมนับจังหวะทั้งหมด 10 ชุด
(ดังภาพประกอบ)
ชุดแบบฝึกที่ 3 : การย้ำเท้าอยู่กับที่พร้อมนับจังหวะ8
ขั้นอธิบายและสาธิต
วิธีการฝึกการย้ำเท้าอยู่กับที่พร้อมนับจังหวะ8
1.ให้ผู้ทำการฝึกย้ำเท้าพร้อมจังหวะการนับ 8 โดยจะเปิดเพลงที่ใช้ในการเต้นแอโรบิคไปพร้อมกันอย่างเบาๆด้วย
ปฏิบัติดังนี้ นับ 1 พร้อมย้ำเท้า-นับ 2 พร้อมย้ำเท้า-นับ 3 พร้อมย้ำเท้า-นับ 4 พร้อมย้ำเท้า--นับ 5 พร้อมย้ำเท้า-นับ 6 พร้อมย้ำเท้า-นับ 7 พร้อมย้ำเท้า-นับ 8 พร้อมย้ำเท้า ( ซ้ำ )
2. ให้ผู้ฝึกย้ำเท้าพร้อมนับจังหวะทั้งหมด 10 ชุด
(ดังภาพประกอบ)
ชุดแบบฝึกที่ 4 : การนับจังหวะ8พร้อมการย้ำเท้าและตบมือ
ขั้นอธิบายและสาธิต
วิธีการฝึกการนับจังหวะ8พร้อมการย้ำเท้าและตบมือ
1.ให้ผู้ทำการฝึกย้ำเท้าและตบมือพร้อมจังหวะการนับ 8 โดยจะเปิดเพลงที่ใช้ในการเต้นแอโรบิคไปพร้อมกันอย่างเบาๆด้วย ปฏิบัติดังนี้ นับ 1 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ-นับ 2 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ-นับ 3 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ-นับ 4 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ--นับ 5 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ-นับ 6 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ-นับ 7 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ-นับ 8 พร้อมย้ำเท้าและตบมือ ( ซ้ำ )
2. ให้ผู้ฝึกย้ำเท้าและตบมือพร้อมนับจังหวะทั้งหมด 10 ชุด (ดังภาพประกอบ)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการทำวิจัยในครั้งนี้จะใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิคและแบบทดสอบก่อนและหลังฝึก
การเก็บรวบรวมข้อมูล
นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และจากการทำแบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค ชุดละ2 ครั้ง มาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ตารางบันทึกคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน
คนที่ |
ทดสอบ ก่อนเรียน |
แบบฝึกเสริมทักษะ |
ทดสอบ หลังเรียน |
|||||||
ชุดที่ 1 |
ชุดที่2 |
ชุดที่3 |
ชุดที่4 |
ชุดที่1 |
ชุดที่2 |
ชุดที่3 |
ชุดที่4 |
|||
10 |
10 |
10 |
10 |
10 |
10 |
10 |
10 |
10 |
10 |
|
1 |
5 |
6 |
7 |
6 |
8 |
9 |
8 |
7 |
9 |
7 |
2 |
3 |
9 |
8 |
7 |
6 |
8 |
9 |
8 |
9 |
9 |
3 |
4 |
7 |
6 |
8 |
9 |
8 |
7 |
9 |
8 |
8 |
4 |
6 |
6 |
8 |
6 |
6 |
8 |
8 |
9 |
8 |
8 |
5 |
4 |
8 |
8 |
9 |
8 |
7 |
6 |
6 |
8 |
9 |
รวม |
22 |
36 |
37 |
36 |
37 |
40 |
38 |
39 |
42 |
41 |
X |
4.40 |
7.20 |
7.40 |
7.20 |
7.40 |
8.00 |
7.60 |
7.80 |
8.50 |
8.20 |
การคิดวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. วิเคราะห์คะแนนความสามารถในการทำแบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค ด้วยค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ X และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ตารางวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 2 แสดงคะแนนความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
รายการ |
N |
X |
S.D. |
ค่าเฉลี่ยร้อยละ |
ทดสอบก่อนเรียน |
5 |
4.40 |
|
44% |
ทดสอบหลังเรียน |
5 |
8.20 |
|
82% |
จากตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2 พบว่าคะแนนความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และทำแบบฝึกเสริมทักษะ 8 ครั้ง แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเต้นแอโรบิคและการฟังจังหวะของเพลง สูงขึ้น
ตารางที่ 3 แสดงคะแนนความสามารถในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 5 คน คะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังต่อไปนี้
คนที่ |
คะแนนก่อนเรียน |
คะแนนหลังเรียน |
ความก้าวหน้า |
1 |
5 |
7 |
+2 |
2 |
3 |
9 |
+6 |
3 |
4 |
8 |
+4 |
4 |
6 |
8 |
+2 |
5 |
4 |
9 |
+5 |
คะแนนรวม |
22 |
41 |
+19 |
คะแนนเฉลี่ย |
4.40 |
8.20 |
+3.80 |
จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนก่อนเรียน เฉลี่ย 4.40 คะแนน
คะแนนหลังเรียน เฉลี่ย 8.20 คะแนน
ดังนั้น คะแนนนักเรียนเพิ่มขึ้น เฉลี่ย +3.80 คะแนน
แสดงว่า หลังจากใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการเต้นแอโรบิคได้ทันจังหวะเพลง สูงขึ้น
ผลการวิจัย
หลังจากการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถในการเต้นแอโรบิดได้ทันจังหวะของเพลง มากขึ้น และจารการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ปรากฏว่าคะแนนหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึกทักษะ
ข้อเสนอแนะ
1. ควรจัดทำแบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคในระดับชั้นอื่น ๆ ให้มากขึ้น
2. ควรจัดทำแบบฝึกพัฒนาทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ในทุกระดับชั้น ให้มากขึ้น
3. ควรมีการจัดทำแบบฝึกเสริมทักษะด้านอื่น ๆ นอกจากด้านทักษะขั้นพื้นฐานการเต้นแอโรบิค
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียนเต้นแอโรบิคได้ทันจังหวะของเพลงได้และถูกต้อง
2. เป็นแนวทางให้ครูได้นำไปแก้ไขนักเรียนที่เต้นแอโรบิคไม่ทันจังหวะของเพลง
รายการอ้างอิง
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546)การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ( Class room Action Research).กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคผนวก
\
แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกทักษะ
ชื่อแบบทดสอบ : การก้าวเท้าในตาราง 9 ช่อง
คำชี้แจง: ให้นักเรียนทำการก้าวเท้าตามจังหวะเพลงโดยให้ฟังจังหวะเพลงแล้วตบมือนับตามก่อน 1 รอบแล้วทำการทดสอบโดยให้ก้าวเท้าลงในช่องสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้ที่มีเลข 1 – 8 โดยใช้การยืนจากช่องเริ่มต้น (ช่องสีดำ) ยืนเตรียม โดยจะให้นักเรียนทำ 10 ชุด นับครั้งที่ทำได้ถูกต้องและก้าวเท้าครบทุกช่อง
( ดังภาพตัวอย่างตาราง 9 ช่อง)
1 |
3 |
2 |
4 |
|
5 |
6 |
8 |
7 |
วิธีการทดสอบก้าวเท้าในตาราง 9 ช่อง
1. ยืนเตรียมพร้อมในช่องกลาง (ช่องสีดำ)
(ดังภาพ )
2. ก้าวเท้าซ้ายไปที่หมายเลข 1
(ดังภาพ)
3. ก้าวเท้าขวาไปที่หมายเลข 2
(ดังภาพ)
4. ก้าวเท้าซ้ายไปที่หมายเลข 3
(ดังภาพ)
5. ก้าวเท้าขวาไปที่หมายเลข 4
(ดังภาพ)
6. ก้าวเท้าซ้ายไปที่หมายเลข 5
(ดังภาพ)
7. ก้าวเท้าขวาไปที่หมายเลข 6
(ดังภาพ)
8. ก้าวเท้าซ้ายไปที่หมายเลข 7
(ดังภาพ)
9. ก้าวเท้าขวาไปที่หมายเลข 8
(ดังภาพ)
9. ก้าวเท้ากลับที่ (จุดกลาง) เหมือนท่าเตรียม
(ดังภาพ)
ภาพการเต้นแอโรบิคของนักเรียน หน้าเสาธงตอนเช้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)
ภาพการสอนเต้นแอโรบิคของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร)