จริยศาสตร์ศาสนา จึงหมายถึง หลักความประพฤติที่ดี งามของศาสนานั้น ๆ ซึ่งจะมีหลักศีลธรรมซึ่งมาจากคำสอนจากศาสดาในศาสนาต่าง ๆ ที่แน่นอนตายตัว ซึ่งกฏเกณฑ์ชัดเจนตายตัว ผิดถูก บุญ-บาป แยกส่วนกันอย่างชัดเจน ในขณะที่จริยศาสตร์ เน้นเรื่องการโต้แย้งและแสวงหาเหตุผล อันว่าด้วยความประพฤติของมนุษย์ โดยมีปลายทางอยู่กับคำว่า “ควร-เหมาะสม” โดยไม่มีการตัดสินชัดเจนลงไปว่าถูกหรือผิด
พุทธจริยศาสตร์คืออะไร ?
ย้อนกลับมาที่ พุทธจริยศาสตร์ จัดเป็น “จริยศาสตร์ศาสนา” ด้วยเหตุผลที่ว่า “พุทธจริยศาสตร์” มีรากฐานจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา แต่ในทางกลับกันพุทธจริยศาสตร์กลับมีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไป เมื่อเทียบกับจริยศาสตร์ศาสนาอื่น ๆ กล่าวคือ
(๑) ลักษณะของพุทธจริยศาสตร์ ไม่ได้มีลักษณะบังคับ เหมือนกฎหมาย และมีบทลงโทษ เหมือนบางศาสนา เช่น เมื่อชาวพุทธทำผิดศีล จะไม่มีข้อบังคับอันใดที่จะต้องให้ชาวพุทธต้องได้รับโทษ แต่เสนอให้พิจารณาเพียงว่าทำผิดศีล จะมีผลจากการกระทำนั้น ที่เรียกว่า “กรรม” อันเป็นจากการกระทำของผู้นั้นเอง เช่น “ทำกรรมข้อปาณาติบาท มีผลทำให้อายุสั้น มีโรคมาก” เป็นต้น
(๒) ลักษณะของพุทธจริยศาสตร์ มีความเป็นสมบูรณ์นิยม (Absolutly) กล่าวคือเป็นหลักความประพฤติที่มีลักษณะที่แน่นอนตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาเช่นเดียวกับจริยศาสตร์ศาสนาอื่น ๆ เป็นหลักสากลที่ครอบคลุมมนุษย์ทุกคน เช่น หลักเบญจศีล- ฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะใครอะไร สัตว์เล็ก น้อยใหญ่ ที่ใด เวลาใด ลักทรัพย์ ไม่ว่าจะลักของใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็จัดว่าเป็นอทินนาทาน ไม่มีข้อยกเว้น ถือว่าผิดศีล และมีผลเป็นบาปอย่างแน่นอน
นอกจากนี้จริยศาสตร์ ยังสามารถจำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑). พุทธจริยศาสตร์ในแบบเดิม (Traddition) ซึ่งหมายถึงคำสอนที่มาจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เช่น หลักอริยสัจย์ ๔ ซึ่งเป็นหลักความจริงสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและให้ผู้ถือปฏิบัติได้ปฏิบัติตามเพื่อการพ้นทุกข์
หลักของความเป็นจริงตามธรรมชาติที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ที่สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงไม่ตั้งอยู่ มีภาวะของ “อนัตตา”
หลักกรรมและหลักศรัทธา โดยที่พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อกรรม ผลของกรรม รวมไปถึงสรรพชีวิตล้วนมีกรรม-กากระทำเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่สิ่งอื่นใดมากำหนดบันดาล
หรือหลักปฎิจจสมุปบาท -อิทปัปัจจยตา ที่สัมพันธ์ความเป็นเหตุผล ไม่มีสรรพสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยไม่เป็นเหตุเป็นผลของกันไม่มี “สิ่งนี้มี-อีกสิ่งหนึ่งจึงมี สิ่งนี้เกิด-อีกสิ่งหนึ่งจึงเกิด”
ในหลักการทางพระพุทธศาสนามีเป็นจำนวนมาก ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต และสถานภาพของผู้ปฏิบัติ เช่น ธรรมของชาวบ้านที่เรียกว่า “คฤหัสถ์” ซึ่งเป็นหลักธรรมเพื่อการปฏิบัติให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในแบบ “ชาวบ้านก็เรียกว่า “ฆราวาสธรรม” ธรรมของพระราชาหรือนักปกครอง “ทศพิธราชธรรม” เป็นต้น ซึ่งหลักธรรมเหล่านี้เอื้อและสอดคล้องกับการปฏิบัติตามแนวทางของ “สถานะภาพ” นั้นของผู้ปฏิบัติ
ดังนั้นหลักแนวคำสอนของพระพุทธศาสนาในความหมายนี้ เมื่อสรุปรวมอาจนนิยามตามโอวาทปาฏิโมกข์ที่ถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่ว่า “สพฺพ ปาปสฺส อกรณํ-ไม่ทำความชั่วทั้งปวง, กุสลสฺสูปสมฺปทา-ทำแต่ความดี,สจิตฺตปริโยทปนํ-ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์”[1]
โดยความหมายคือชาวพุทธผู้ปฏิบัติได้ละเว้นบาปที่จะเป็นทางนำสู่เหตุผลแห่งความชั่ว ทำให้การกระทำที่จะก่อให้เกิดผลดีเพื่อการปฏิบัติดีไม่เกิด พร้อมทั้งส่งเสริมให้ทำ “ความดี” เพื่อความดีงามของการอยู่ร่วมกันในสังคม และเพื่อเป็นฐานของการยกจิตขึ้นสู่ระดับที่สูง ที่เรียกว่า “ทำจิตให้ผ่องใส” ที่มีปลายทางเพื่อการพ้นทุกข์ หรือไปสู่มรรคผลนิพาน (โลกุตระ) เป็นลำดับต่อไป
๒). พุทธจริยศาสตร์ร่วมสมัย (Contemporary) เป็นชุดอธิบายความหมายของพุทธจริยศาสตร์ โดยหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา ในประเด็นความขัดแย้งต่าง ๆ หรือเกณฑ์เพื่อการพิจารณาและตัดสินใจในกรณีที่ต้องมีทางเลือก ๒ ทาง เพื่อเป็นการยุติข้อขัดแย้งหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
เพราะด้วยเหตุผลของความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ความซับซ้อนทางสังคมมีอยู่สูงในปัจจุบัน การตีความและชุดอธิบายคำสอนในทางศาสนาในรูปแบบเดิม (Traditional) ไม่เพียงพอต่อการที่จะตอบคำถามประเด็นปัญหาในเชิงสังคมได้อย่างเพียงพอ ระหว่างการปฏิบัติตนเพื่อความดีงามตามศีลธรรม กับความจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของ “ชีวิต” ในฐานะมนุษย์
ดีมากครับ
*-*