บันทึกนี้เขียนโดย นาง เกษร อุทัยเวียนกุล เมื่อ Tue Aug 21 2012 11:24:12 GMT+0700 (+07)
บทความกายวิภาคและสรีรวิทยา
เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์
ความสำคัญในการศึกษา
กายวิภาค (Anatomy) หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
วิชากายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของชีววิทยา ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้าง(Form and structure)ของสิ่งที่มีชีวิต รวมทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิชาสรีระวิทยา
คำว่า Anatomy แยกออกได้เป็น Ana =Apart แปลว่า เป็นชิ้นหรือเป็นส่วนๆ ส่วน Tomy หรือTome=Cutting แปลว่า ตัด ดังนั้น Anatomy เมื่อรวมกันแล้ว จึงหมายถึง การตัดหรือชำแหละออกเป็นส่วนๆ ซึ่งในการเรียน Gross Anatomy ใช้การชำแหละ (Dissection) ด้วยตาเปล่าเป็นหลัก
ประวัติ
วิชากายวิภาคศาสตร์ได้มีการศึกษากันมาช้านานแล้ว คือเริ่มตั้งแต่400ปีก่อนคริสตกาล มีนักปรัชญาชาว กรีกชื่อ Aristotle (384-322B.C.) ได้พิมพ์ผลงานทางกายวิภาคศาสตร์ของปลาและสัตว์ขึ้น จากผลงานอันนี้เอง ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์ (Father of Anatomy)ต่อมาได้มีนักกายวิภาคศาสตร์ได้ทำการศึกษา และค้นคว้าเกี่ยวกับวิชากายวิภาคศาสตร์ขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Claudius Galen ,Andreas Vesalius เป็นต้น Claudius Galenเป็นนักฟิสิกส์ชาวกรีก-โรมัน อยู่ที่กรุงโรมอิตาลี มีชีวิตอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 2 ส่วน Andreas Vesalius ซึ่งเป็นนักกายวิภาคศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 16 เขาได้ศึกษาค้นคว้าจนทำให้วิชากายวิภาคศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างกว้างขวาง ตลอดจนถึงการชำแหละ (Dissection) จนได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์สมัยใหม่ (Father of modern anatomy) นอกจากนี้ก็ยังมี Septimus Sisson (1865-1924 )
วัตถุประสงค์
จุดประสงค์ของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ในสมัยนี้ถือว่าวิชากายวิภาคศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการเรียนวิชาแพทย์ และเนื่องจากนักกายวิภาคศาสตร์หรือนักชีววิทยารุ่นแรกๆ เป็นชนชาติกรีก ดังนั้นภาษาลาตินจึงเป็นรากศัพท์ทางวิชากายวิภาคศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่
การเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์มีจุดประสงค์เพื่อ
1.เป็นพื้นฐานของวิชาศัลยศาสตร์และวิชาอายุรศาสตร์
2.เป็นพื้นฐานของวิชาสรีระวิทยา
3.เป็นพื้นฐานของวิชาสูติศาสตร์ และวิชาโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์
4.เป็นพื้นฐานของวิชาพยาธิวิทยา
5.เป็นพื้นฐานของวิชาตรวจเนื้อและการตัดเนื้อ
6.พวกสถาปนิค ช่างปั้น ช่างเขียน จำเป็นต้องเรียนหรือต้องทราบเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาคของคน สัตว์ และต้นไม้ เพื่อนำไปปั้นหรือวาดรูป ให้ถูกต้องตามลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ต่อไป
การจำแนกวิชากายวิภาคศาสตร์(Division of Anatomy) วิชากายวิภาคศาสตร์แบ่งออกได้เป็น
1.Microscopic AnatomyหรือHistology หมายถึง การศึกษาโครงสร้างของสัตว์และพืช เป็นรายละเอียดขนาดเล็กๆ โดยใช้กล้องจุลทัศน์(Microscope)
2.Macroscopic AnatomyหรือGross anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างของสัตว์ด้วยตาเปล่า โดยใช้เครื่องมือชำแหละช่วย
3. Embryological หรือ Developmental Anatomyหมายถึงการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เริ่มการปฏิสนธิ(Fertilized egg) จนถึงตอนเกิด (Birth)
4.Ultrastructural Anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างต่างๆของสัตว์และพืชให้ละเอียดเล็กลงไปอีก ซึ่งกล้องจุลทัศน์ธรรมดาไม่สามารถจะมองเห็นได้ ต้องใช้กล้องจุลทัศน์อีเล็กตรอน (Electron microscope)จึงจะจะสามารถมองเห็นและศึกษารายละเอียดได้
5. Applied Anatomy (กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์) หมายถึงการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ เพื่อนำเอาไปใช้เกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรค ทางพยาธิวิทยา และทางศัลยศาสตร์
6.Topographic Anatomy หมายถึงการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์โดยศึกษาส่วนหนึ่งของร่างกายสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับอีกส่วนหนึ่ง
7. Comparative Anatomy หมายถึงการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างส่วนต่างๆของร่างกายสัตว์แต่ละชนิด
8.Radiographic Anatomy หมายถึงการศึกษากายวิภาคศาสตร์ โดยอาศัย X-ray ช่วย เพื่อให้ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ปกติของอวัยวะนั้นๆซึ่งมีความสำคัญมาก
9. Special Anatomy หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอย่างเดียวกัน หรือชนิดเดียวกัน เช่นการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของคน (Anthropotomy), การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของม้า(Hippotomy)เป็นต้น
สรีระวิทยา (Physiology) เป็นวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่ของร่างกายสิ่งมีชีวิต และส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ด้วยการศึกษากายวิภาคและสรีระวิทยา จะต้องอาศัยห้องปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการศึกษาวิชากายวิภาควิทยาในห้องปฏิบัติการ มักใช้วิธี ชำแหละเอาแต่ส่วนของสิ่งมีชีวิต ที่ตายแล้วมาดองไว้ เพื่อไม่ให้เน่า จะได้ใช้ดูร่างกายและลักษณะ ที่อยู่ และส่วนเชื่อมโยงที่อาจเห็นได้ชัด ส่วนวิชาสรีระวิทยานั้นจะต้องทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกกับสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ ตามปกติของร่างกาย และผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ต่อการใช้ยา การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และการใช้กระแสไฟฟ้า
ความสำคัญในการศึกษา
กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์(Veterinary Anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้างของสัตว์เลี้ยง มีความสำคัญอย่างมากในการนำไปใช้รักษาโรคสัตว์ต่อไป
ในการเรียนหรือการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยานี้ จะกล่าวถึงส่วนต่างๆและการทำงานของอวัยวะในร่างกาย โดยจัดแบ่งเป็นระบบต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
1.Osteologyศึกษาเกี่ยวกับโครงกระดูก(Skeleton)รวมทั้งกระดูก(Bone)และกระดูกอ่อน(Cartilage)ด้วย ซึ่งมีหน้าที่พยุงหรือค้ำจุน และป้องกันอวัยวะส่วนอ่อนๆของร่างกายสัตว์
2Myologyศึกษาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและส่วนประกอบที่สำคัญของกล้ามเนื้อซึ่งหน้าที่ของมันฏ้ช่วยทำให้กระดูกและข้อต่อเคลื่อนไหวได้เต็มที่
3.Splanchnology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะภายในทั้งหมดรวมทั้งอวัยวะย่อยอาหาร(Digestive system),อวัยวะหายใจ(Respiratory system),อวัยวะสืบพันธุ์(Reproductive system)และอวัยวะขับปัสสาวะ(Urinary system)เป็นต้น
4. Angiology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะของการไหลเวียนโลหิต รวมทั้งหัวใจ เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ เส้นน้ำเหลืองและม้าม
5.Neurologyเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและร่วมมือกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นๆให้ดำเนินไปด้วยดี
ที่มา http://clickcash4you.blogspot.com/2009/08/1.html
นาย ศราวุฒิ วลมา ศึกษาสาสตร์ชั้นปีที่1 ห้อง 4 เลขที่ 16
กายวิภาคศาสตร์ เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ หรือสัตว์ ทั้งในด้านโครงสร้าง
ลักษณะ รูปร่าง และตำแหน่งที่อยู่ ตลอดจนความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียงในสภาพปกติ
การศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์นั้น อาจจะศึกษาได้โดยการชำแหละมนุษย์ หรือสัตว์ เพื่อศึกษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท กระดูก และอวัยวะต่างๆ เท่าที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และศึกษาได้โดยตัดชิ้นส่วนของอวัยวะต่างๆ ให้บางประมาณ ๗-๑๐ ไมครอนย้อมสีให้เห็นชัดเจนขึ้น แล้วดูรายละเอียดของอวัยวะนั้นๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์
วิชากายวิภาคศาสตร์จึงแบ่งได้เป็น ๕ สาขาวิชาใหญ่ คือ
๑. มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงรูปร่าง ลักษณะ โครงสร้าง ตำแหน่งที่อยู่ ความสัมพันธ์ และหน้าที่สำคัญของส่วนประกอบ และอวัยวะต่างๆของมนุษย์และสัตว์ เช่น ศึกษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท กระดูก และอวัยวะภายในต่างๆ ของมนุษย์หรือสัตว์ที่จะใช้ชำแหละนี้ ต้องฉีดยากันเน่า เช่น น้ำยาฟอร์มาลิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้อวัยวะต่างๆ คงสภาพเดิมไว้ไม่เน่าเปื่อยไป และยังต้องแช่ในน้ำยาป้องกันเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อราต่อไปอีกประมาณ ๖ เดือนถึง ๑ ปี จึงจะนำมาชำแหละศึกษาได้
๒. จุลกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้าง และส่วนประกอบของอวัยวะต่างๆ ถึงระดับเซลล์ของร่างกายอย่างละเอียด โดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์ การศึกษาเช่นนี้จำเป็นต้องเอาชิ้นส่วนของแต่ละอวัยวะมาแช่ในน้ำยา เพื่อให้คงสภาพเดิมมากที่สุดแล้วตัดชิ้นส่วนของอวัยวะนี้ให้บางประมาณ ๗-๑๐ ไมโครมิเตอร์ มาติดที่กระจกใส แล้วย้อมสีเพื่อให้ชัดเจนขึ้นแล้วศึกษารายละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งช่วยขยายสิ่งที่เห็นได้ประมาณ ๕๐ - ๑,๐๐๐ เท่า
๓. เอ็มบริโอวิทยา เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงกำเนิด การเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอวัยวะต่างๆ จนถึงขั้นอนุชน พร้อมทั้งการเกิดรูปวิปริตของทารกแต่กำเนิด การศึกษาสาขาวิชานี้ โดยมากศึกษาจากเอ็มบริโอของไก่อายุต่างๆ ตั้งแต่การเริ่มฟักไข่จนถึง ๗๒ ชั่วโมง และจากเอ็มบริโอของหมูอายุต่างๆ กัน ขณะ อยู่ในมดลูกของแม่หมู เริ่มตั้งแต่ไข่ผสมกับเชื้ออสุจิของตัวผู้ จนถึงอายุประมาณ ๒๔ วัน นำเอาเอ็มบริโอของไก่และหมู มาตัดให้บางแล้วศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์นอกจากนั้นก็ศึกษาด้วยเอ็มบริโอของมนุษย์ อายุตั้งแต่ไข่ผสมกับเชื้ออสุจิถึงอายุ ๘ สัปดาห์ในครรภ์ ต่อไปก็ศึกษาได้จากทารกในครรภ์อายุต่างๆ กันและศึกษาในทารกที่มีความพิการต่างๆ แต่กำเนิด
๔. ประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงรูปพรรณ โครงสร้าง ส่วนประกอบและหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง โดยอาศัยทั้งการศึกษาด้วยตาเปล่า และด้วยกล้องจุลทรรศน์ศึกษาส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลัง ซึ่งตัดให้บางประมาณ ๑๐-๒๐ ไมครอน
๕. กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ เป็นการนำความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ทุกสาขาวิชาไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัย การวิเคราะห์ การรักษา และการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆในผู้ป่วย หรือในชุมชนต่อไปได้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญวิชาหนึ่ง สำหรับการศึกษาของแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด
การศึกษาร่างกายของมนุษย์และสัตว์ในสภาพปกตินั้น อาจแบ่งการศึกษาไปตามระบบต่าง ๆ ได้ ดังนี้ คือ
- ระบบผิวหนัง
- ระบบกระดูก
- ระบบข้อต่อ
- ระบบกล้ามเนื้อ
- ระบบการย่อยอาหาร หรือระบบทางเดินอาหาร
- ระบบการหายใจ
- ระบบขับปัสสาวะ
- ระบบสืบพันธุ์
- ระบบเลือดไหลเวียน
- ระบบน้ำเหลือง
- ระบบประสาท
- ระบบต่อมไร้ท่อ
อนุชา บุญเสริม ปี1/5 เลขที่19
กายวิภาคศาสตร์ เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ หรือสัตว์ ทั้งในด้านโครงสร้างลักษณะ รูปร่าง และตำแหน่งที ่อยู่ ตลอดจนความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียง ในสภาพปกติ การศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์นั้น อาจจะศึกษาได้โดยการชำแหละมนุษย์ หรือสัตว์ เพื่อศึ กษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ เท่าที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และศึกษาได้โดยตัดชิ้นส่วนของอวัยวะต่าง ๆ ให้บา งประมาณ 7-10ไมครอน ย้อมสีให้เห็นชัดเจนขึ้น แล้วดูรายละเอียดของอวัยวะนั้น ๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์
สรีรวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาหน้าที่การทำงานของสิ่งมีชีวิต อาจเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ก็ได้ สรีรวิทยามาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Physiology ในสมัยก่อนการศึกษามุ่งถึงหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า สรีรวิทยาระดับอวัยวะ (organ physiology) เป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อความเจริญทางวทิยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการศึกษามุ่งไปถึงหน้าที่ของเซลล์ ที่เรียกว่า สรีรวิทยาระดับเซลล์ (cell physiology) ซึ่งช่วยให้ทราบถึงกลไกการทำงานละเอียดและลึกซึ่งขึ้น อย่างไรก็ดีแม้ความรู้เรื่องกลไกการทำงานละเอียดและลึกซึ้งขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ความรู้เรื่องกลไก การทำงานเพิ่มขึ้น แต่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การทำงานใน ร่างกายนั้นต้องอาศัยหน้าที่ซึ่งมีการประสานและเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาการเชื่อมโยง ชีววิ ทยาของเซลล์จนถึงการวิเคราะห์การทำงานระบบต่าง ๆ รวมทั้งทฤษฎีการควบคุมด้วย
ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK8/chapter2/t8-2-l1.htm#sect2
นาย สินธัช มีผล ชั้นปีที่1/4 คณะศึกษาศาสตร์ เลขที่28
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
เรามีความรู้เรื กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา มาให้ท่านศึกษาดังต่อไปนี้
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา จาก สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา โดย นายแพทย์วิเชียร ดิลกสัมพันธ์ และนายแพทย์ชูศักดิ์ เวชแพศย์
กายวิภาคศาสตร์ เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ หรือสัตว์ ทั้งในด้านโครงสร้าง
ลักษณะ รูปร่าง และตำแหน่งที่อยู่ ตลอดจนความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียงในสภาพปกติ
การศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์นั้น อาจจะศึกษาได้โดยการชำแหละมนุษย์ หรือสัตว์ เพื่อศึกษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท กระดูก และอวัยวะต่างๆ เท่าที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และศึกษาได้โดยตัดชิ้นส่วนของอวัยวะต่างๆ ให้บางประมาณ ๗-๑๐ ไมครอนย้อมสีให้เห็นชัดเจนขึ้น แล้วดูรายละเอียดของอวัยวะนั้นๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์
วิชากายวิภาคศาสตร์จึงแบ่งได้เป็น ๕ สาขาวิชาใหญ่ คือ
๑. มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงรูปร่าง ลักษณะ โครงสร้าง ตำแหน่งที่อยู่ ความสัมพันธ์ และหน้าที่สำคัญของส่วนประกอบ และอวัยวะต่างๆของมนุษย์และสัตว์ เช่น ศึกษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท กระดูก และอวัยวะภายในต่างๆ ของมนุษย์หรือสัตว์ที่จะใช้ชำแหละนี้ ต้องฉีดยากันเน่า เช่น น้ำยาฟอร์มาลิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้อวัยวะต่างๆ คงสภาพเดิมไว้ไม่เน่าเปื่อยไป และยังต้องแช่ในน้ำยาป้องกันเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อราต่อไปอีกประมาณ ๖ เดือนถึง ๑ ปี จึงจะนำมาชำแหละศึกษาได้
๒. จุลกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้าง และส่วนประกอบของอวัยวะต่างๆ ถึงระดับเซลล์ของร่างกายอย่างละเอียด โดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์ การศึกษาเช่นนี้จำเป็นต้องเอาชิ้นส่วนของแต่ละอวัยวะมาแช่ในน้ำยา เพื่อให้คงสภาพเดิมมากที่สุดแล้วตัดชิ้นส่วนของอวัยวะนี้ให้บางประมาณ ๗-๑๐ ไมโครมิเตอร์ มาติดที่กระจกใส แล้วย้อมสีเพื่อให้ชัดเจนขึ้นแล้วศึกษารายละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งช่วยขยายสิ่งที่เห็นได้ประมาณ ๕๐ - ๑,๐๐๐ เท่า
๓. เอ็มบริโอวิทยา เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงกำเนิด การเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอวัยวะต่างๆ จนถึงขั้นอนุชน พร้อมทั้งการเกิดรูปวิปริตของทารกแต่กำเนิด การศึกษาสาขาวิชานี้ โดยมากศึกษาจากเอ็มบริโอของไก่อายุต่างๆ ตั้งแต่การเริ่มฟักไข่จนถึง ๗๒ ชั่วโมง และจากเอ็มบริโอของหมูอายุต่างๆ กัน ขณะ อยู่ในมดลูกของแม่หมู เริ่มตั้งแต่ไข่ผสมกับเชื้ออสุจิของตัวผู้ จนถึงอายุประมาณ ๒๔ วัน นำเอาเอ็มบริโอของไก่และหมู มาตัดให้บางแล้วศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์นอกจากนั้นก็ศึกษาด้วยเอ็มบริโอของมนุษย์ อายุตั้งแต่ไข่ผสมกับเชื้ออสุจิถึงอายุ ๘ สัปดาห์ในครรภ์ ต่อไปก็ศึกษาได้จากทารกในครรภ์อายุต่างๆ กันและศึกษาในทารกที่มีความพิการต่างๆ แต่กำเนิด
๔. ประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงรูปพรรณ โครงสร้าง ส่วนประกอบและหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง โดยอาศัยทั้งการศึกษาด้วยตาเปล่า และด้วยกล้องจุลทรรศน์ศึกษาส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลัง ซึ่งตัดให้บางประมาณ ๑๐-๒๐ ไมครอน
๕. กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ เป็นการนำความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ทุกสาขาวิชาไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัย การวิเคราะห์ การรักษา และการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆในผู้ป่วย หรือในชุมชนต่อไปได้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญวิชาหนึ่ง สำหรับการศึกษาของแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด
การศึกษาร่างกายของมนุษย์และสัตว์ในสภาพปกตินั้น อาจแบ่งการศึกษาไปตามระบบต่าง ๆ ได้ ดังนี้ คือ
- ระบบผิวหนัง
- ระบบกระดูก
- ระบบข้อต่อ
- ระบบกล้ามเนื้อ
- ระบบการย่อยอาหาร หรือระบบทางเดินอาหาร
- ระบบการหายใจ
- ระบบขับปัสสาวะ
- ระบบสืบพันธุ์
- ระบบเลือดไหลเวียน
- ระบบน้ำเหลือง
- ระบบประสาท
- ระบบต่อมไร้ท่อ
ที่มา http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2
นาย สุพจน์ สุขขี ชั้นปีที่ 1/4 คณะศึกษาศาสตร์
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (อังกฤษ: Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ
การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์เริ่มขึ้นตั้งแต่ในสมัยอารยธรรมโบราณ โดยอาศัยการผ่าตัดซากศพของมนุษย์ จนกระทั่งได้มีวิวัฒนาการของการใช้น้ำยารักษาสภาพของศพเพื่อการศึกษา ทำให้มีการศึกษากายวิภาคของมนุษย์ที่เป็นแบบแผนมากขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันที่มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการรักษาและการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์
การศึกษาในยุคโบราณ
อารยธรรมที่มีการค้นพบว่ามีการศึกษากายวิภาคของมนุษย์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นอารยธรรมแรก คืออารยธรรมอียิปต์โบราณ จากการค้นพบบันทึกในกระดาษปาปิรุส (papyrus) ที่มีการกล่าวถึงอวัยวะภายในของมนุษย์ อาทิ หัวใจ หลอดเลือด ตับ ไต ม้าม มดลูก และกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ ชาวอียิปต์โบราณยังมีความเชื่อว่าหัวใจเป็นศูนย์กลางของร่างกาย และเป็นแหล่งรวมของของเหลวทุกชนิดในร่างกาย
ในยุคของอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษากายวิภาคศาสตร์ได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น โดยมีแพทย์และนักปราชญ์เมธีกรีกหลายคนมีส่วนในการพัฒนาวิชานี้ อาทิเช่น ฮิปโปกราเตส (Hippocrates) อริสโตเติล (Aristotle) ฮีโรฟิโลส (Herophilos) และอีราซิสทราทุส (Erasistratus) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีส่วนในการวางรากฐานของการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคโบราณ คือ กาเลน (Galen) ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ชาวกรีกที่ได้ศึกษากายวิภาคของมนุษย์ผ่านทางการผ่าตัดบาดแผลต่างๆ และการศึกษาจากการชำแหละสัตว์ บันทึกของกาเลนได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์จนกระทั่งถึงยุคกลาง
การศึกษาในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
แอนเดรียส เวซาเลียส
การศึกษากายวิภาคของมนุษย์หยุดชะงักลงไปชั่วคราวในช่วงยุคกลาง ซึ่งมีข้อกำหนดทางศาสนาที่เคร่งครัด จนกระทั่งแพทย์หลวงในอาณาจักรโรมันโบราณ ชื่อ แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) ได้ทำการศึกษากายวิภาคของมนุษย์อย่างละเอียดโดยใช้ศพของนักโทษประหาร และตีพิมพ์เป็นหนังสือ De humani corporis fabrica ซึ่งมีภาพประกอบของร่างกายของมนุษย์ที่ละเอียดและสมจริงอย่างมาก การศึกษากายวิภาคของมนุษย์ได้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายไปพร้อมกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งศิลปินเอกหลายคนได้ศึกษาโครงสร้างต่างๆของมนุษย์เพื่อประกอบการสร้างงานศิลปะ ทำให้วิชากายวิภาคศาสตร์รุดหน้าไปมาก
การศึกษากายวิภาคศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
ภาพ บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ทุลพ์ โดยแรมบรังด์แสดงภาพของการสาธิตการชำแหละศพในสมัยศตวรรษที่ 17
ในช่วงศตวรรษที่ 19 ด้วยวิทยาการใหม่ทางด้านเคมี ทำให้สามารถนำสารเคมีมาใช้ในการรักษาสภาพและศึกษาโครงสร้างส่วนต่างๆของมนุษย์ ทั้งในระดับมหกายวิภาคศาสตร์ และระดับจุลกายวิภาคศาสตร์ได้มากขึ้น และทำให้ความรู้ทางด้านนี้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการศึกษาอวัยวะต่างๆของมนุษย์อย่างเป็นระบบระเบียบ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 20 ได้มีการนำเอาเครื่องมือทางฟิสิกส์มาใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในของมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น การใช้รังสีเอกซ์ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging) และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computer tomography) ซึ่งนับว่าเป็นวิวัฒนาการล่าสุดในการวิเคราะห์โครงสร้างของมนุษย์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค
แนวทางของการศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์
ภาพสแกนโดยการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ แสดงภาคตัดขวางของศีรษะของมนุษย์ ในระนาบที่ผ่านเบ้าตา สมองกลีบขมับ และซีรีเบลลัม
ปัจจุบัน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะแบ่งออกเป็นสองแบบ คือการศึกษาเฉพาะในแต่ละส่วน (Regional approach) และการศึกษาในแต่ละระบบอวัยวะ (Systemic approach)
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์เฉพาะส่วน
โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายของมนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่
ศีรษะและลำคอ (Head and neck) ได้แก่ส่วนของร่างกายที่อยู่เหนือต่อช่องอก
รยางค์บน (Upper limbs) ซึ่งรวมตั้งแต่ส่วนของไหล่ ต้นแขน ศอก ปลายแขน ข้อมือ และมือ
หลัง (Back) คือโครงสร้างส่วนที่อยู่โดยรอบกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอถึงก้นกบ
ทรวงอก (Thorax) คือบริเวณตั้งแต่ส่วนที่อยู่ด้านล่างต่อลำคอ จนถึงกะบังลม
ช่องท้อง (Abdomen) คือบริเวณตั้งแต่กะบังลมจนถึงขอบเชิงกรานและเอ็นขาหนีบ (inguinal ligamant)
อุ้งเชิงกรานและฝีเย็บ (Pelvis and perineum) ได้แก่บริเวณที่อยู่ใต้ขอบเชิงกรานลงไปจนถึงแผ่นปิดเชิงกราน (pelvic diaphragm) ส่วนฝีเย็บเป็นบริเวณโดยรอบทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอยู่ใต้แผ่นปิดเชิงกราน
รยางค์ล่าง (Lower limbs) คือส่วนที่อยู่ใต้ต่อเอ็นขาหนีบ ซึ่งได้แก่ต้นขา เข่า น่อง ข้อเท้า จนถึงเท้า
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ในแต่ละระบบ
มนุษย์ประกอบด้วยระบบของอวัยวะทั้งหมด 10 ระบบ ซึ่งได้แก่
ระบบเครื่องห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system)
ระบบหัวใจหลอดเลือด (Cardiovascular system)
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
ระบบขับถ่าย (Excretory system)
ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal system)
ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
แหล่งที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (อังกฤษ: Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ
การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์เริ่มขึ้นตั้งแต่ในสมัยอารยธรรมโบราณ โดยอาศัยการผ่าตัดซากศพของมนุษย์ จนกระทั่งได้มีวิวัฒนาการของการใช้น้ำยารักษาสภาพของศพเพื่อการศึกษา ทำให้มีการศึกษากายวิภาคของมนุษย์ที่เป็นแบบแผนมากขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันที่มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการรักษาและการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์
การศึกษาในยุคโบราณ
อารยธรรมที่มีการค้นพบว่ามีการศึกษากายวิภาคของมนุษย์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นอารยธรรมแรก คืออารยธรรมอียิปต์โบราณ จากการค้นพบบันทึกในกระดาษปาปิรุส (papyrus) ที่มีการกล่าวถึงอวัยวะภายในของมนุษย์ อาทิ หัวใจ หลอดเลือด ตับ ไต ม้าม มดลูก และกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ ชาวอียิปต์โบราณยังมีความเชื่อว่าหัวใจเป็นศูนย์กลางของร่างกาย และเป็นแหล่งรวมของของเหลวทุกชนิดในร่างกาย
ในยุคของอารยธรรมกรีกโบราณ การศึกษากายวิภาคศาสตร์ได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น โดยมีแพทย์และนักปราชญ์เมธีกรีกหลายคนมีส่วนในการพัฒนาวิชานี้ อาทิเช่น ฮิปโปกราเตส (Hippocrates) อริสโตเติล (Aristotle) ฮีโรฟิโลส (Herophilos) และอีราซิสทราทุส (Erasistratus) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีส่วนในการวางรากฐานของการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคโบราณ คือ กาเลน (Galen) ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ชาวกรีกที่ได้ศึกษากายวิภาคของมนุษย์ผ่านทางการผ่าตัดบาดแผลต่างๆ และการศึกษาจากการชำแหละสัตว์ บันทึกของกาเลนได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์จนกระทั่งถึงยุคกลาง
การศึกษาในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
แอนเดรียส เวซาเลียส
การศึกษากายวิภาคของมนุษย์หยุดชะงักลงไปชั่วคราวในช่วงยุคกลาง ซึ่งมีข้อกำหนดทางศาสนาที่เคร่งครัด จนกระทั่งแพทย์หลวงในอาณาจักรโรมันโบราณ ชื่อ แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) ได้ทำการศึกษากายวิภาคของมนุษย์อย่างละเอียดโดยใช้ศพของนักโทษประหาร และตีพิมพ์เป็นหนังสือ De humani corporis fabrica ซึ่งมีภาพประกอบของร่างกายของมนุษย์ที่ละเอียดและสมจริงอย่างมาก การศึกษากายวิภาคของมนุษย์ได้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายไปพร้อมกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งศิลปินเอกหลายคนได้ศึกษาโครงสร้างต่างๆของมนุษย์เพื่อประกอบการสร้างงานศิลปะ ทำให้วิชากายวิภาคศาสตร์รุดหน้าไปมาก
การศึกษากายวิภาคศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
ภาพ บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ทุลพ์ โดยแรมบรังด์แสดงภาพของการสาธิตการชำแหละศพในสมัยศตวรรษที่ 17
ในช่วงศตวรรษที่ 19 ด้วยวิทยาการใหม่ทางด้านเคมี ทำให้สามารถนำสารเคมีมาใช้ในการรักษาสภาพและศึกษาโครงสร้างส่วนต่างๆของมนุษย์ ทั้งในระดับมหกายวิภาคศาสตร์ และระดับจุลกายวิภาคศาสตร์ได้มากขึ้น และทำให้ความรู้ทางด้านนี้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการศึกษาอวัยวะต่างๆของมนุษย์อย่างเป็นระบบระเบียบ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 20 ได้มีการนำเอาเครื่องมือทางฟิสิกส์มาใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในของมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น การใช้รังสีเอกซ์ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging) และการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computer tomography) ซึ่งนับว่าเป็นวิวัฒนาการล่าสุดในการวิเคราะห์โครงสร้างของมนุษย์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรค
แนวทางของการศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์
ภาพสแกนโดยการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ แสดงภาคตัดขวางของศีรษะของมนุษย์ ในระนาบที่ผ่านเบ้าตา สมองกลีบขมับ และซีรีเบลลัม
ปัจจุบัน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะแบ่งออกเป็นสองแบบ คือการศึกษาเฉพาะในแต่ละส่วน (Regional approach) และการศึกษาในแต่ละระบบอวัยวะ (Systemic approach)
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์เฉพาะส่วน
โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายของมนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่
ศีรษะและลำคอ (Head and neck) ได้แก่ส่วนของร่างกายที่อยู่เหนือต่อช่องอก
รยางค์บน (Upper limbs) ซึ่งรวมตั้งแต่ส่วนของไหล่ ต้นแขน ศอก ปลายแขน ข้อมือ และมือ
หลัง (Back) คือโครงสร้างส่วนที่อยู่โดยรอบกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอถึงก้นกบ
ทรวงอก (Thorax) คือบริเวณตั้งแต่ส่วนที่อยู่ด้านล่างต่อลำคอ จนถึงกะบังลม
ช่องท้อง (Abdomen) คือบริเวณตั้งแต่กะบังลมจนถึงขอบเชิงกรานและเอ็นขาหนีบ (inguinal ligamant)
อุ้งเชิงกรานและฝีเย็บ (Pelvis and perineum) ได้แก่บริเวณที่อยู่ใต้ขอบเชิงกรานลงไปจนถึงแผ่นปิดเชิงกราน (pelvic diaphragm) ส่วนฝีเย็บเป็นบริเวณโดยรอบทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอยู่ใต้แผ่นปิดเชิงกราน
รยางค์ล่าง (Lower limbs) คือส่วนที่อยู่ใต้ต่อเอ็นขาหนีบ ซึ่งได้แก่ต้นขา เข่า น่อง ข้อเท้า จนถึงเท้า
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ในแต่ละระบบ
มนุษย์ประกอบด้วยระบบของอวัยวะทั้งหมด 10 ระบบ ซึ่งได้แก่
ระบบเครื่องห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system)
ระบบหัวใจหลอดเลือด (Cardiovascular system)
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
ระบบขับถ่าย (Excretory system)
ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal system)
ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
แหล่งที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C
นางสาว สุมนา ถนอมทรัพย์ 1/5 เลขที่4
กายวิภาคศาสตร์ (อังกฤษ: Anatomy; กรีก: ἀνατομία anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy) , กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology) , กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) [1]โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution)
นายอรุณ ศรีปัดถา 1/5 เลขที่23
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (อังกฤษ: Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์(Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ
นาย ปิยนัด จันทร์พวง ชั้น1/5 เลขที่ 35
กายวิภาคศาสตร์ เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ หรือสัตว์ ทั้งในด้านโครงสร้างลักษณะ รูปร่าง และตำแหน่งที ่อยู่ ตลอดจนความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียง ในสภาพปกติ การศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์นั้น อาจจะศึกษาได้โดยการชำแหละมนุษย์ หรือสัตว์ เพื่อศึ กษาผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ เท่าที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า และศึกษาได้โดยตัดชิ้นส่วนของอวัยวะต่าง ๆ ให้บา งประมาณ 7-10ไมครอน ย้อมสีให้เห็นชัดเจนขึ้น แล้วดูรายละเอียดของอวัยวะนั้น ๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์
สรีรวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาหน้าที่การทำงานของสิ่งมีชีวิต อาจเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ก็ได้ สรีรวิทยามาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Physiology ในสมัยก่อนการศึกษามุ่งถึงหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า สรีรวิทยาระดับอวัยวะ (organ physiology) เป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อความเจริญทางวทิยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการศึกษามุ่งไปถึงหน้าที่ของเซลล์ ที่เรียกว่า สรีรวิทยาระดับเซลล์ (cell physiology) ซึ่งช่วยให้ทราบถึงกลไกการทำงานละเอียดและลึกซึ่งขึ้น อย่างไรก็ดีแม้ความรู้เรื่องกลไกการทำงานละเอียดและลึกซึ้งขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ความรู้เรื่องกลไก การทำงานเพิ่มขึ้น แต่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การทำงานใน ร่างกายนั้นต้องอาศัยหน้าที่ซึ่งมีการประสานและเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาการเชื่อมโยง ชีววิ ทยาของเซลล์จนถึงการวิเคราะห์การทำงานระบบต่าง ๆ รวมทั้งทฤษฎีการควบคุมด้วย
ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK8/chapter2/t8-2-l1.htm#sect2
นาย สุมนตรี จันทสร ห้อง1/5 เลขที 3
ระบบประสาทกลาง
ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง
สมอง
สมอง (brain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) และคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina) ซึ่งแบ่งออกเป็น ซุพีเรียร์ คอลลิคูไล (superior colliculi) 2 พู (lob) และอินฟีเรียร์ คอลลิคูไล (inferior colliculi) 2 พู
สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) สมองน้อย หรือ ซีรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
1. เนื้อเทา (Gray matter) เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2. เนื้อขาว (White matter) เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เยื่อหุ้มสมอง
เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) 3 ชั้น คือ
1. เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
2. เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
3. เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
ไขสันหลัง
ไขสันหลัง (spinal cord) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
1. เนื้อขาว (White matter) เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2. เนื้อเทา (Gray matter) เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง
โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
1. ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
2. ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
3. ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนมัติ
นางสาวรัตนาภรณ์ วิทยารณยุทธ์ ชั้นปีที่1/5
ระบบประสาทกลาง
ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง
สมอง
สมอง (brain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) และคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina) ซึ่งแบ่งออกเป็น ซุพีเรียร์ คอลลิคูไล (superior colliculi) 2 พู (lob) และอินฟีเรียร์ คอลลิคูไล (inferior colliculi) 2 พู
สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) สมองน้อย หรือ ซีรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
1. เนื้อเทา (Gray matter) เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2. เนื้อขาว (White matter) เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เยื่อหุ้มสมอง
เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) 3 ชั้น คือ
1. เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
2. เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
3. เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
ไขสันหลัง
ไขสันหลัง (spinal cord) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
1. เนื้อขาว (White matter) เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
2. เนื้อเทา (Gray matter) เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง
โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
1. ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
2. ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
3. ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนมัติ
นางสาวรัตนาภรณ์ วิทยารณยุทธ์ ชั้นปีที่1/5
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
รูปร่างภายนอกของมนุษย์
ภาพเอกซเรย์ของหน้าอกมนุษย์
ดูบทความหลักที่ กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ซึ่งรวมทั้งมหกายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกายสัณฐานวิทยา (morphology) ของร่างกายมนุษย์[1]
โดยทั่วไปแล้ว นักศึกษาที่ศึกษาวิชาชีววิทยาในบางสาขา, บุคลากรทางการแพทย์ (paramedics) , นักกายภาพบำบัด (physiotherapists) , พยาบาล, และนักศึกษาแพทย์ (medical students) ศึกษามหกายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์จากแบบจำลอง, โครงกระดูก, ตำรา, แผนภาพ, ภาพถ่าย, และการฟังบรรยาย การศึกษาจุลกายวิภาคศาสตร์ (หรือมิญชวิทยา) ในสถานศึกษาจะใช้การศึกษาตัวอย่างหรือสไลด์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ และนอกจากนี้ นักศึกษาแพทย์โดยทั่วไปจะได้ศึกษามหกายวิภาคศาสตร์จากการสังเกตและชำแหละร่างกายมนุษย์ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า อาจารย์ใหญ่ ซึ่งเป็นร่างกายของผู้ที่ประสงค์บริจาคเพื่อการศึกษา
กายวิภาคศาสตร์มนุษย์, สรีรวิทยา และชีวเคมีประกอบกันเป็นวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (basic medical sciences) ซึ่งโดยทั่วไปจะสอนแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นปีแรก (หรือในชั้นปีที่ 1-3 ในคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย) การสอนวิชากายวิภาคศาสตร์มนุษย์สามารถสอนแยกตามระบบหรือตามตำแหน่ง[1] กล่าวคือสามารถศึกษาแยกตามแต่ละระบบ เช่น ระบบประสาท หรือระบบทางเดินหายใจ หรือศึกษาแยกตามเฉพาะที่ เช่น บริเวณศีรษะ และหน้าอก ตำราทางกายวิภาคศาสตร์ที่สำคัญ เช่น Gray's Anatomy ในปัจจุบันได้เรียงเนื้อหาใหม่จากแยกตามระบบเป็นแยกตามตำแหน่ง[2][3] ตามวิธีการสอนแบบใหม่ ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์นั้นมีความจำเป็นต่อแพทย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัลยแพทย์ และแพทย์ที่ทำงานด้านการวินิจฉัยเฉพาะทางเช่น จุลพยาธิวิทยา (histopathology) หรือรังสีวิทยา (radiology)
นักกายวิภาคศาสตร์จะทำงานในมหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ โรงเรียนแพทย์ หรือสอนในโรงพยาบาล ซึ่งจะทำงานในด้านการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ และการวิจัยในบางระบบอวัยวะ, อวัยวะ, เนื้อเยื่อ หรือเซลล์
นางสาวสุดารัตน์ หล้าถลา เลขที่ 31 1/4
บทความกายวิภาคและสรีรวิทยา
เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์
ความสำคัญในการศึกษา
กายวิภาค (Anatomy) หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
วิชากายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของชีววิทยา ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้าง(Form and structure)ของสิ่งที่มีชีวิต รวมทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิชาสรีระวิทยา
คำว่า Anatomy แยกออกได้เป็น Ana =Apart แปลว่า เป็นชิ้นหรือเป็นส่วนๆ ส่วน Tomy หรือTome=Cutting แปลว่า ตัด ดังนั้น Anatomy เมื่อรวมกันแล้ว จึงหมายถึง การตัดหรือชำแหละออกเป็นส่วนๆ ซึ่งในการเรียน Gross Anatomy ใช้การชำแหละ (Dissection) ด้วยตาเปล่าเป็นหลัก
ประวัติ
วิชากายวิภาคศาสตร์ได้มีการศึกษากันมาช้านานแล้ว คือเริ่มตั้งแต่400ปีก่อนคริสตกาล มีนักปรัชญาชาว กรีกชื่อ Aristotle (384-322B.C.) ได้พิมพ์ผลงานทางกายวิภาคศาสตร์ของปลาและสัตว์ขึ้น จากผลงานอันนี้เอง ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์ (Father of Anatomy)ต่อมาได้มีนักกายวิภาคศาสตร์ได้ทำการศึกษา และค้นคว้าเกี่ยวกับวิชากายวิภาคศาสตร์ขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Claudius Galen ,Andreas Vesalius เป็นต้น Claudius Galenเป็นนักฟิสิกส์ชาวกรีก-โรมัน อยู่ที่กรุงโรมอิตาลี มีชีวิตอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 2 ส่วน Andreas Vesalius ซึ่งเป็นนักกายวิภาคศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 16 เขาได้ศึกษาค้นคว้าจนทำให้วิชากายวิภาคศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างกว้างขวาง ตลอดจนถึงการชำแหละ (Dissection) จนได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์สมัยใหม่ (Father of modern anatomy) นอกจากนี้ก็ยังมี Septimus Sisson (1865-1924 )
วัตถุประสงค์
จุดประสงค์ของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ในสมัยนี้ถือว่าวิชากายวิภาคศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการเรียนวิชาแพทย์ และเนื่องจากนักกายวิภาคศาสตร์หรือนักชีววิทยารุ่นแรกๆ เป็นชนชาติกรีก ดังนั้นภาษาลาตินจึงเป็นรากศัพท์ทางวิชากายวิภาคศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่
การเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์มีจุดประสงค์เพื่อ
1.เป็นพื้นฐานของวิชาศัลยศาสตร์และวิชาอายุรศาสตร์
2.เป็นพื้นฐานของวิชาสรีระวิทยา
3.เป็นพื้นฐานของวิชาสูติศาสตร์ และวิชาโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์
4.เป็นพื้นฐานของวิชาพยาธิวิทยา
5.เป็นพื้นฐานของวิชาตรวจเนื้อและการตัดเนื้อ
6.พวกสถาปนิค ช่างปั้น ช่างเขียน จำเป็นต้องเรียนหรือต้องทราบเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาคของคน สัตว์ และต้นไม้ เพื่อนำไปปั้นหรือวาดรูป ให้ถูกต้องตามลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ต่อไป
การจำแนกวิชากายวิภาคศาสตร์(Division of Anatomy) วิชากายวิภาคศาสตร์แบ่งออกได้เป็น
1.Microscopic AnatomyหรือHistology หมายถึง การศึกษาโครงสร้างของสัตว์และพืช เป็นรายละเอียดขนาดเล็กๆ โดยใช้กล้องจุลทัศน์(Microscope)
2.Macroscopic AnatomyหรือGross anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างของสัตว์ด้วยตาเปล่า โดยใช้เครื่องมือชำแหละช่วย
3. Embryological หรือ Developmental Anatomyหมายถึงการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เริ่มการปฏิสนธิ(Fertilized egg) จนถึงตอนเกิด (Birth)
4.Ultrastructural Anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างต่างๆของสัตว์และพืชให้ละเอียดเล็กลงไปอีก ซึ่งกล้องจุลทัศน์ธรรมดาไม่สามารถจะมองเห็นได้ ต้องใช้กล้องจุลทัศน์อีเล็กตรอน (Electron microscope)จึงจะจะสามารถมองเห็นและศึกษารายละเอียดได้
5. Applied Anatomy (กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์) หมายถึงการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ เพื่อนำเอาไปใช้เกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรค ทางพยาธิวิทยา และทางศัลยศาสตร์
6.Topographic Anatomy หมายถึงการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์โดยศึกษาส่วนหนึ่งของร่างกายสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับอีกส่วนหนึ่ง
7. Comparative Anatomy หมายถึงการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างส่วนต่างๆของร่างกายสัตว์แต่ละชนิด
8.Radiographic Anatomy หมายถึงการศึกษากายวิภาคศาสตร์ โดยอาศัย X-ray ช่วย เพื่อให้ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ปกติของอวัยวะนั้นๆซึ่งมีความสำคัญมาก
9. Special Anatomy หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอย่างเดียวกัน หรือชนิดเดียวกัน เช่นการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของคน (Anthropotomy), การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของม้า(Hippotomy)เป็นต้น
สรีระวิทยา (Physiology) เป็นวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่ของร่างกายสิ่งมีชีวิต และส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ด้วยการศึกษากายวิภาคและสรีระวิทยา จะต้องอาศัยห้องปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการศึกษาวิชากายวิภาควิทยาในห้องปฏิบัติการ มักใช้วิธี ชำแหละเอาแต่ส่วนของสิ่งมีชีวิต ที่ตายแล้วมาดองไว้ เพื่อไม่ให้เน่า จะได้ใช้ดูร่างกายและลักษณะ ที่อยู่ และส่วนเชื่อมโยงที่อาจเห็นได้ชัด ส่วนวิชาสรีระวิทยานั้นจะต้องทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกกับสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ ตามปกติของร่างกาย และผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ต่อการใช้ยา การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และการใช้กระแสไฟฟ้า
ความสำคัญในการศึกษา
กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์(Veterinary Anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้างของสัตว์เลี้ยง มีความสำคัญอย่างมากในการนำไปใช้รักษาโรคสัตว์ต่อไป
ในการเรียนหรือการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยานี้ จะกล่าวถึงส่วนต่างๆและการทำงานของอวัยวะในร่างกาย โดยจัดแบ่งเป็นระบบต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
1.Osteologyศึกษาเกี่ยวกับโครงกระดูก(Skeleton)รวมทั้งกระดูก(Bone)และกระดูกอ่อน(Cartilage)ด้วย ซึ่งมีหน้าที่พยุงหรือค้ำจุน และป้องกันอวัยวะส่วนอ่อนๆของร่างกายสัตว์
2Myologyศึกษาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและส่วนประกอบที่สำคัญของกล้ามเนื้อซึ่งหน้าที่ของมันฏ้ช่วยทำให้กระดูกและข้อต่อเคลื่อนไหวได้เต็มที่
3.Splanchnology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะภายในทั้งหมดรวมทั้งอวัยวะย่อยอาหาร(Digestive system),อวัยวะหายใจ(Respiratory system),อวัยวะสืบพันธุ์(Reproductive system)และอวัยวะขับปัสสาวะ(Urinary system)เป็นต้น
4. Angiology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะของการไหลเวียนโลหิต รวมทั้งหัวใจ เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ เส้นน้ำเหลืองและม้าม
5.Neurologyเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและร่วมมือกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นๆให้ดำเนินไปด้วยดี
ที่มา http://clickcash4you.blogspot.com/2009/08/1.html
ผู้ส่งงาน นาย สุริยา แสงทวี ห้อง 5 เลขที่ 9 คณะ ศึกษาศาสตร์
ระบบแนะนำ
อนุชา 1/5 คับรายงานตัว