เป็นการอธิบายเพิ่มเติมหลัก ๖ ประการของธรรมาภิบาล ให้นศ.ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลในการอภิปรายต่อไป
อ้างอิงจาก www.images.candidept.multiply.com
เป็นการอธิบายเพิ่มเติมหลัก ๖ ประการของธรรมาภิบาล ให้นศ.ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลในการอภิปรายต่อไป
อ้างอิงจาก www.images.candidept.multiply.com
บันทึกนี้เขียนโดย maslan mahama เมื่อ Sun Jul 26 2009 06:09:29 GMT+0700 (+07)
สลามครับอาจารย์
ใครคือผู้มีอำนาจ และ ใครจะควบคุมคนมีอำนาจ หนึ่งข้อคิดที่อยากเข้าใจ
หลักธรรมาภิบาลนั้นเปรียบได้เหมือนกับคำสอนอบรมประชาชนที่อยู่ในประเทศเพื่อความถูกต้องในการเป็นอยู่ของคน และเทียบได้เป็นอัลกุรอาน อัลฮาดิษได้ดีในการที่จะให้คนอิสลามเรานั้นใช้ชีวิตที่ถูกต้อง
สลามครับอาจารย์
ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน การลดการควบคุม ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันที่ทำหน้าที่บริหารงานภาครัฐ นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว มีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ต่อแนวทางการใช้อำนาจในการดำเนินงาน
จะใช้ธรรมาภิบาลเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถ โดยมีการส่งเสริมบทบาทให้เกิดการทำงานที่ปราศจากการคอร์รัปชั่น หรือการไม่นำผลประโยชน์ของสาธารณะมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีการใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินงาน หรือสร้างกรอบในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ลดกฎระเบียบที่มากจนเกินไป ที่เป็นต้นเหตุของการทำงานที่ล่าช้า มีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายการดำเนินงานให้ชัดเจนเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มีกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใส มีกฏ กติกา มารยาท ในการบริหารงาน
สลามอ. หลักธรรมาภิบาลคือ ธรรมาภิบาลเปรียบเสมือนเครื่องมือในการทำงานที่ทำให้ความโปร่งใสและเป็นระบบขั้นตอนในการทำงาน
1 หลักนิติธรรม กลายเป็นการใช้กฎหมายเพื่อคนหนึ่งคนใดที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ
2 หลักคุณธรรม นักการเมืองเอาคำว่าคุณธรรมดาบหน้าแต่มีนัยแห่งความเป็นจริงซ้อนเร้น
3 หลักการมีส่วนร่วม ปัจจุบันการตัดสินใจในกิจกรรมหนึ่งๆ ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง
4 หลักความโปร่งใส ถูกครอบงำโดยบรรดานักการเมืองหัวใส
5 หลักความคุ้มค่า
6 หลักสำนึกรับผิดชอบ
สามารถใจความที่สำคัญคือ
1 ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
2 เป็นการปกครองโดยฝูงชน
3 ศีลธรรม/จริยธรรม นักการสูญหาย
4 กลายเป็นที่มาของการทุจริต / คอรัปชั่น
5 เสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง
6 การตัดสินใจที่ล่าช้า
ฉันคิดว่าหลักธรรมาภิบาลนั้นเป็นเครื่องมือในการที่ให้ประเทศชาติเกิดความโปร่งใสในการทำงานและเป็นระบบขั้นตอนในการบริหารมากขึ้นหากขาดหลักธรรมาภิบาลแล้วอาจทำให้เกิดความวุ่นวาย ก็เช่นเดียวกันกับหลักธรรมาภิบาลในการอิสลามที่จะช่วยให้การบริหารประเทศนั้นเกิดความสงบสุขและการทำงานที่มุ่งเน้นให้ผู้บริหารนั้นทำงานด้วยอิคลาสและด้วยความโปร่งใสในการทำงานและยึดหลักความถูกต้องตามหลักคัมภีร์อัล-กุรอาน หากประเทศของเรายึดหลักคำว่า ธรรมาภิบาล ประเทศของเราก็คงจะไม่เจอคำว่า ไม่สงบในประเทศ เรามาช่วยคนละไม้คนละมือประเทศของเราจะได้สงบซักที เราคือตัวแทนที่จะให้สังคมของเรางอกงามถ้าหากเราช่วยกัน
อัสสาลามูอาลัยกุม
ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน การลดการควบคุม ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันที่ทำหน้าที่บริหารงานภาครัฐ นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว มีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ต่อแนวทางการใช้อำนาจในการดำเนินงาน ซึ่งจะด้วยกัน 6 ประการ คือ
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การออกกฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่งต่างๆของราชการที่ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมและบุคลากรในสถานศึกษา
2.หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม โดยผู้บริหารสถานศึกษายึดหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้บริหารพัฒนาตนเองไปพร้อมกันเพื่อให้มีความซื่อสัตย์
3.หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญ
4.หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในสถานศึกษา โดยปรับปรุงกลไกในการทำงานให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายและกระบวนการให้ผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
5.หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ที่สำนึกในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การใส่ใจปัญหาของสถานศึกษา และการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา
6.หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดงานและการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนร่วม โดยรณรงค์มีความประหยัด
สลามอาจารย์
ธรรมาภิบาลคืออะไร
“ ธรรมาภิบาล ” แปลจากภาษาอังกฤษว่า “ good governance” หมายถึง การบริหารบ้านเมืองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรมบางครั้ง ภาคเอกชน จะใช้คำว่า “ บรรษัทภิบาล ” หรือ “ การกำกับดูแลกิจการที่ดี ” แปลจากภาษาอังกฤษ “ corporate governance” หรือ “ corporate social responsibility” รวมทั้งคำย่อที่มักเรียกสั้นๆว่า “CG” หรือ “ CSR” ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน
ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน หมายความถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยที่ผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้นๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททุกราย รวมถึงผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน รัฐ ลูกค้า คู่ค้า ตลอดจนประชาชน
ธรรมาภิบาล สำคัญอย่างไร
ธรรมาภิบาลเป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกองค์กร ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน เนื่องจาก “ ธรรมาภิบาล ” เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อกันในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอิสระ การปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่สำคัญคือ
ความโปร่งใส ( Transparency) อธิบายได้ ( accountability) และ ความรับผิดชอบ ( responsibility) องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง ธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะเป็น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ( OECD), ธนาคารโลก (the World Bank), UNDP, UNCTAD, UNIDO and ILO
ในทัศนะของธนาคารโลก ธรรมาภิบาลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของนโยบายเศรษฐกิจที่ดี ( Sound economic policies) ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารจัดการภาครัฐที่คำนึงถึง ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบ รวมทั้งมี กรอบกฎหมายและนโยบายที่มีความแน่นอนและชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประสิทธิภาพของระบบตลาดและการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสนใจของธนาคารโลกในเรื่องธรรมาภิบาลเป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของความพยายามส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืนและเท่าเทียมกัน
ความสำคัญของธรรมาภิบาลต่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกย่อๆว่า ว่า SMEs มีผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมดของประเทศศ และมีการจ้างงานกว่าร้อยละ 70 ของการจ้างงานรวมในภาคอุตสาหกรรม แต่มีการระดมเงินทุนผ่านตลาดทุนเป็นจำนวนน้อยมาก เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินการมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากการกู้ยืมสถาบันการเงิน ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่
ความสำคัญของ ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน ก็คือ การสร้าง “ ความเชื่อถือ ” จากลูกค้า สถาบันการเงิน สังคม และคู่ค้า ฯลฯ เพราะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องก็ต้องการให้ธุรกิจที่ตนจะค้าขายด้วยมีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม มีจริยธรรม คุณธรรม สินค้าที่ผลิตเป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ค้ากำไรเกินควร เนื่องจาก มีคุณธรรมกำกับอยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นอย่างนี้ทุกธุรกิจ ก็จะทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองเป็นที่เชื่อถือของลูกค้า มีกำไรสามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามวิกฤตและในยามปกติ รวมทั้งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ไม่ว่าสถาบันใดก็อยากจะให้สินเชื่อ และให้ดอกเบี้ยที่ถูกลงเพราะเขาสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบ การประนอมหนี้ ก็สามารถทำได้ง่าย เพราะเจ้าหนี้มีความไว้วางใจในผู้บริหารของบริษัท ประชาชนก็จะได้บริโภคสินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ สังคมก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เพราะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ในภาคธุรกิจ เอส เอ็ม อี เมื่อธุรกิจเจริญเติบโต มีระบบการเงินและระบบบัญชีที่ได้มาตรฐานเป็นที่เชื่อถือ ก็สามารถนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนได้เองโดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงินซึ่งจะได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากสถาบันการเงินเสียอีก เพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจในต่างประเทศได้ดีขึ้น
ผลการศึกษาของนักวิชาการจากธนาคารโลก ชี้ให้เห็นว่าระดับธรรมาภิบาลสูงมีสัมพันธ์กับระดับรายได้ที่สูง
ธรรมาภิบาล ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อเจ้าของธุรกิจที่บริหารงานเองโดยตรงดังกรณีข้างต้น แต่ยังสำคัญต่อนักลงทุน หากบริษัทไม่มีธรรมาภิบาล การเพิ่มทุนจากต่างประเทศอาจต้องประสบอุปสรรคเพราะชาวต่างชาติลังเลที่จะเข้ามามีหุ้นส่วนในบริษัท โดยไม่มีอำนาจในการบริหาร การมีธรรมาภิบาล หรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี กล่าวคือ กรรมการทำหน้าที่เพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ ไม่ใช้ตำแหน่งในการหาประโยชน์หรือฉวยโอกาสจากบริษัทเพื่อตนเองหรือพวกพ้อง ดูแลผู้บริหารและฝ่ายจัดการให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเงินลงทุน ให้สิทธิแก่เจ้าของเงินหรือผู้ถือหุ้นในการรับทราบข้อมูลของบริษัท การตัดสินใจเรื่องสำคัญๆรวมถึงการตรวจสอบการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น
หลักการสากลของ “ ธรรมาภิบาล ”
องค์การสหประชาชาติ กำหนดหลักการทั่วไปของธรรมาภิบาล ไว้ 8 หลักการ ดังนี้
1. การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งชายหญิงคือการตัดสินใจที่สำคัญในสังคมและสร้างความสามัคคีให้เกิดกับประชาชน การมีส่วนร่วมสามารถทำได้โดยอิสระไม่มีการบังคับ สมาชิกเต็มใจให้ความร่วมมือด้วยตนเอง หรือมีส่วนร่วมผ่านหน่วยงาน สถาบันหรือผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตย
2. การปฏิบัติตามกฏ ธรรมาภิบาลต้องการความถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ลำเอียง มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมกับประชาชนโดยเท่าเทียมกัน ทุกคนในสังคมอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายเดียวกัน
3. ความโปร่งใส ความโปร่งใสเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สิ่งนี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน สื่อจะเข้ามีบทบาทอย่างมากในการตรวจสอบและรายงานผลงานดำเนินงานโดยการนำเสนอข่าวสารให้แก่สังคมได้รับทราบ
4. ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบเป็นการพยายามให้คนทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในการทำงาน กล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจนั้นๆ
5. ความสอดคล้อง ความสอดคล้องต้องกันเป็นการกำหนดและสรุปความต้องการของคนในสังคม ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมาก โดยพยายามหาจุดสนใจร่วมกันและความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมมาเป็นข้อปฏิบัติเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม การจะพัฒนาสังคมได้ ต้องทราบความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมนั้นๆ ด้วยวิธีการเรียนรู้ วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆก่อน
6. ความเสมอภาค ความเสมอภาคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับจากรัฐบาล ทั้งการบริการด้านสวัสดิการ ตลอดจนสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ
7. หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ โดยการผลิตและจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มีคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือการใช้ทรพยากรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุดต่อมวลมนุษยชาติ โดยมีการพัฒนากระบวนการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
8. การมีเหตุผล การมีเหตุผลเป็นความต้องการในทุกสังคม ประชาชนทุกคน ต้องตัดสินใจและความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองด้วยเหตุด้วยผลที่สมเหตุสมผล การมีเหตุผลไม่สามารถกระทำได้ถ้าปราศจากการปฏิบัติตามกฎหมายและความโปร่งใส
ทำอย่างไรจึงถือว่า มี “ ธรรมาภิบาล ”
การที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะมี “ ธรรมาภิบาล ” นั้น นอกจากต้องปฎิบัติตามกฎหมายแล้ว ต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม โดยไม่ไปเบียดเบียนฝ่ายใด วิสาหกิจที่มี ธรรมาภิบาล ย่อมไม่เอาเปรียบหุ้นส่วน ไม่ขูดรีดแรงงานลูกจ้าง ไม่ฉ้อโกงลูกค้า ไม่เอาเปรียบคู่ค้า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำร้ายชุมชนโดยรอบที่ตั้งของวิสาหกิจด้วยการก่อมลพิษ
โดยสรุป การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ต้องยึดหลัก “ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน ”
ที่มา....
http://cms.sme.go.th/cms/c/journal_articles/view_article_content?article_id=TAMMAPIBAN-01&article_version=1.0
บทสรุป
กระแสโลกาภิวัฒน์กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วและ
รุนแรงต่อทั้งเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ดังนั้น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนจะต้องสนับสนุนหลักทั้ง 6 ประการตามที่กำหนดในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้ร่วมกันปรับบทบาท ปรับวิธีการทำงานของแต่ละภาคให้สนับสนุนเกื้อกูลกัน ให้เกิดกำลังที่สามารถตักตวงผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์เข้าสู่ประเทศไทย อย่างไรก็ตามการสร้างธรรมาภิบาลจำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นในทุกระดับ กล่าวคือ
- ระดับบุคคล คือ ประชาชนตระหนักว่าตนเองมีอำนาจ กล้าใช้อำนาจบนความรับผิดชอบและเป็นธรรม
- ระดับชุมชน คือ การประสานสิทธิอำนาจของชุมชนเข้ากับการปกครอง
ท้องถิ่น
- ภาคธุรกิจเอกชน คือการบริหารการจัดการ ธุรกิจ เอกชน รัฐวิสาหกิจให้ตรวจสอบได้ โปร่งใส มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
- ภาคการเมืองและราชการ คือ การกระจาย ให้มีการบริหารจัดการที่ดี มีการตรวจสอบภายในและระหว่างกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
เราจะต้องทำให้เชื่อในตัวเรามากขึ้น ซึ่งเรากลับจากประชุมที่ใดซึ่งเกี่ยวกับประชาชนในเเนวร่วม เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่ได้รับมา ซึ่งให้เขารู้กับภาวะในการไปประชุมซึ่งจะต้องมีการแก้ไขอย่างไรกับหมู่บ้าน ได้มาอย่างไรในสิ่งที่ดี
ธรรมาภิบาล คือ ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องการวางกลไกให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การวางโครงสร้าง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือ เรื่องตัวบุคคล เป็นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลเป็นการวางระบบวางโครงสร้างเพื่อควบคุมให้คนไม่ประพฤติปฏิบัติ แต่จริยธรรมจะลึกกว่านั้น โดยมีการปลูกฝังจิตสำนึก ต้องไม่ทุจริต ไม่ประพฤติมิชอบ ทั้งสองด้านจะต้องไปด้วยกันจึงจะยั่งยืน
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org
หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
เช่น หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า เป็นต้น
ดึงข้อมูลจาก http://www.lpc.rmutl.ac.th/
ระบบแนะนำ
หลักธรรมาภิบาลกับการวิพากษ์วิจารระบอบประชาธิปไตย
1 หลักนิติธรรม กลายเป็นการใช้กฎหมายเพื่อคนหนึ่งคนใดที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ
2 หลักคุณธรรม นักการเมืองเอาคำว่าคุณธรรมดาบหน้าแต่มีนัยแห่งความเป็นจริงซ้อนเร้น
3 หลักการมีส่วนร่วม ปัจจุบันการตัดสินใจในกิจกรรมหนึ่งๆ ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง
4 หลักความโปร่งใส ถูกครอบงำโดยบรรดานักการเมืองหัวใส
5 หลักความคุ้มค่า
6 หลักสำนึกรับผิดชอบ
สามารถใจความที่สำคัญคือ
1 ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
2 เป็นการปกครองโดยฝูงชน
3 ศีลธรรม/จริยธรรม นักการสูญหาย
4 กลายเป็นที่มาของการทุจริต / คอรัปชั่น
5 เสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคง
6 การตัดสินใจที่ล่าช้า