ผลงานวิจัย
เรื่อง การปลูกฝังให้เด็กชอบรับประทานผัก โดยวิธีการให้เด็กประกอบอาหารผัก (Cooking)
ความเป็นมา |
- ปัญหาวิจัย จากการสังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหารกลางวันของเด็ก พบว่าเด็กจะไม่รับประทานผักเลย เด็กจะเขี่ยผักออกทำให้เด็กปรับประทานอาหารได้น้อย เกิดขยะจากการทิ้งเศษอาหาร ที่สำคัญจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กเนื่องจากไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน วิธีการแก้ปัญหา การที่ให้เด็กได้ม่าวนร่วมในการประกอบอาหารผักไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือโรงเรียน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก และทำให้เด็กเห็นความสำคัญของการรับประทานผัก นำมาซึ่งความภาคภูมิใจทีทัศนคติที่ดีต่ออาหารผัก ซึ่งการแก้ปัญหาเด็กไม่ชอบรับประทานผัก คือ การให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหาร (Cooking) |
วัตถุประสงค์ |
- วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปลูกฝังนิสัยให้เด็กชอบรับประทานผัก 2. เพื่อลดปัญหาการทิ้งเศษอาหารที่มีผักเป็นส่วนประกอบ 3. เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารจากการรับประทานผัก |
ระเบียบวิธีวิจัย |
- ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้ 1. สังเกตพฤติกรรมเด็กก่อนปฏิบัติการ 2. ดำเนินการวิจัย โดยปฏิบัติการประกอบอาหารผัก (Cooking) ครั้งที่ 1 “สลัดผัก” ซึ่งให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม ครูสังเกตพฤติกรรมการรับประทานสลัดผัก และการรับประทานอาหารกลางวัน โดยเด็กคนใดรับประทานผักให้ 3. ปฏิบัติครั้งที่ 2 “ผัดผักรวมมิตร” เด็กปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม ครูสังเกตพฤติกรรม โดยเด็กคนใดรับประทานผักให้ 4. ปฏิบัติครั้งที่ 3 “ผักชุบแป้งทอด” เด็กปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม ครูสังเกตพฤติกรรมการรับประทาน เด็กคนใดรับประทานผักให้ 5. นำผลการสังเกตพฤติกรรมทั้งก่อน-หลังปฏิบัติการ มาเปรียบเทียบดูว่าเด็กที่รับประทานผักมีจำนวนเพิ่มขึ้น และสังเกตการทิ้งเศษอาหารว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง |
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย |
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ 1. แบบสังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหารผักที่เด็กประกอบอาหาร (Cooking) ทั้งก่อนปฏิบัติการและหลังปฏิบัติการ 2. แบบสอบถามผู้ปกครอง เพื่อติดตามผลทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการ |
การวิเคราะห์ข้อมูล |
- ผลการวิเคราะห์และสรุปผล ผลของการให้เด็กมีส่วนร่วมในการประกอบอาหารนั้นส่งผลให้จำนวนเด็กที่รับประทานผักเพิ่มขึ้น และทำให้เด็กทุกคนมีทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานผัก เด็กมีความสุขในการทำ กิจกรรม บางคนได้นำประสบการณ์เดิมจากบ้านมาใช้ ขยะจากการทิ้งเศษอาหารก็ลดน้อยลง เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วน |
ข้อเสนอแนะ |
- วิธีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ / สะท้อนผล นำผลการวิจัยไปนำเสนอกับเพื่อนครู โดยขยายกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กอนุบาลในโรงเรียนทุกคน การนำผลไปใช้ ผลการวิจัยที่ได้ครั้งนี้ ได้นำไปใช้กับเด็กอนุบาลในปีการศึกษา 2544-2545 |
ชื่อผู้เขียน |
นางจีระนันท์ แก่นคำ , JEERANAN KAENKAM |
ตำแหน่ง |
อาจารย์ 1 ระดับ 4 |
วุฒิการศึกษา |
ปริญญาตรี วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย |
สถานที่ติดต่อ |
ประเภทงานวิจัย |
เป็นการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน จัดทำโดยครู |
สถานที่ |
โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร |
ข้อมูลเพิ่มเติม
กิจกรรมประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้กระบวนการทำงาน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน ลงมือปฏิบัติ ไปจนถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์ เก็บอุปกรณ์ และสถานที่ ซึ่งกิจกรรมประกอบอาหารจะทำให้เด็กได้รับความรู้ เกิดความรู้สึกประสบผลสำเร็จกับกิจกรรมประกอบอาหารที่ทำ รวมทั้งปลูกฝังนิสัยในการรับประทานอาหารให้กับเด็ก
วัตถุประสงค์
1. เปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัส การรู้รส กลิ่น ของอาหาร
2. เพื่อให้เด็กพัฒนาการทางภาษา โดยการอภิปรายเกี่ยวกับการวางแผนร่วมกัน
3. เพื่อให้เด็กพัฒนาด้านสังคม โดยให้เรียนรู้กิจกรรม ร่วมทำงานเป็นกลุ่ม
4. เพื่อให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กเรียนรู้ว่าอาหารแต่ละชนิดหรือส่วยประกอบแต่ละชนิดได้มาจากอะไร รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในขณะที่ทำกิจกรรมประกอบอาหาร
5. เพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์โดยการชั่ง ตวง วัดเครื่องปรุง เรียนรู้เรื่องปริมาณของอาหาร
6. เพื่อส่งเสริมสุขภาพความปลอดภัย
7. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานจากการเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง
8. สร้างทัศนคติที่ดีในการประกอบอาหาร รู้ขั้นตอนของการเตรียมอาหาร รู้มารยาทในการรับประทานอาหาร
9. เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ขั้นตอนในการสอน
กิจกรรมประกอบอาหาร มีขั้นตอนในการสอน 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมงาน ผู้เลี้ยงดูเด็กควรลำดับขั้นตอนการประกอบอาหารแล้วทำแผนภูมิรายการอาหารหรือส่วนประกอบอาหารมีการปรึกษาหารือกันระหว่างผู้เลี้ยงดูเด็กกับเด็ก เกี่ยวกับเครื่องปรุง ส่วนประกอบ รวมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ขั้นก่อนลงมือทำ และขั้นขณะประกอบอาหาร โดยในขั้นก่อนลงมือทำ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรติดภาพขั้นตอนของการประกอบอาหาร มีการวางแผนแบ่งงานกันทำ ต่อจากนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กวางอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดให้เห็นและแนะนำขั้นตอนการทำและอุปกรณ์ ในส่วนของขั้นประกอบอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสาธิตวิธีการให้เด็กดูและสังเกตความเปลี่ยนแปลงของอาหารรวมทั้งปลูกฝังนิสัยการรอคอยและมารยาท ผู้เลี้ยงดูเด็กควรแบ่งหน้าที่ให้เด็กทุกคนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวของเด็กเอง
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ผู้เลี้ยงดูเด็กให้เด็กเล่าประสบการณ์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม เล่าขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมด้านการสนทนากับเด็กรวมทั้งให้แสดงความคิดเห็นจากการร่วมกิจกรรม บทบาทของผู้เลี้ยงดูเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรร่วมกับเด็กช่วยกันวางแผน หาข้อมูลว่ามีเด็กคนไหนแพ้อาหารใด และข้อมูลของครอบครัว เช่น ครอบครัวอิสลามไม่รับประทานหมู ในการจัดรายการอาหารก็ไม่ควรจะเป็นอาหารที่มีรสชาติจัดเกินไป เช่น เผ็ด เค็ม หวานเกินไป และควรจะมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกันกับเด็ก
ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็กควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสะอาด ความปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย
2. เวลาที่ใช้ในการประกอบอาหารต้องไม่นานจนเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเบื่อได้
3. หาสูตรอาหารง่าย ๆ มีขั้นตอนในการประกอบอาหารง่าย ๆ
4. ขณะที่ทำกิจกรรม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำ
5. ฝึกสุขนิสัยให้กับเด็ก
6. ให้เด็กทุก ๆ คน ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเองพร้อม ๆ กัน
7. ควรใช้ข้าวของในท้องถิ่นในการประกอบอาหารหรือควรจะเป็นอาหารประจำท้องถิ่น ประเมินผล ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสังเกตการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็กว่าเด็กลงมือกระทำตนเองหรือไม่ มีการร่วมมือกับเด็กอื่นหรือไม่
(ชุดการศึกษานอกโรงเรียน การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย)
เป็นตัวอย่างงานวิจัยที่ดีมากจะนำไปเป็นแนวทางในการทำวิจัยแก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบ้างและหากมีงานวิจัยเรื่องใหม่ ๆ ที่น่าสนใจก็ช่วยเผยแพร่อีกนะค่ะ